Last updated: 16 เม.ย 2564 |
เห็ดนางฟ้าภูฐาน เทรนใหม่ของเมนูเพื่อสุขภาพ
เห็ดจัดเป็นวัตถุดิบจำพวกผักอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในการใช้ประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโปรตีนและวิตามินสูง ไขมันต่ำ มีเส้นใยสูงบริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย จนมีผู้ยกย่องให้เป็นราชาแห่งผัก อีกทั้งมีความเชื่อเกี่ยวกับสรรพคุณทางยา เช่น การป้องกันการสะสมไขมันในเส้นเลือด โรคทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง ป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง ฯลฯ
เห็ดนางฟ้าภูฐาน (Bhutan Oyster Mushroom) เป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดนางรม เดิมทีพบที่ประเทศภูฐาน เกิดขึ้นบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้ว บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น เจริญเติบโตได้เร็วมาก ดอกเห็ดมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาว เนื้อหนาคล้ายเนื้อสัตว์ ไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันและสิ่งที่เด่นกว่าเห็ดชนิดอื่นคือการออกดอกเห็ดเร็ว ระยะช่วงห่างของการออกดอกสั้น มีความสามารถในการใช้อาหารสูง เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักและนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานกันอย่างแพร่หลาย และยังมีคุณประโยชน์อีกมากมาย เช่น
โรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดภูฐานควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไป โครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปี หรือโรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป
การจัดวางก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน
โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางก้อนเชื้อเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง จะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง
วัสดุเพาะ และสารอาหาร
วัสดุที่นิยมใช้เป็นวัสดุหลักในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน คือ ขี้เลื่อย เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องหมัก เก็บรักษาง่าย สามารถเก็บไว้ในสภาพแห้งๆ ก็ได้ หรือทิ้งอยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็ได้
การเก็บเกี่ยว
ก่อนเก็บผลผลิตควรงดการให้น้ำ เพราะเห็ดจะเปียกชื้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เก็บเกี่ยว เมื่อดอกเห็ดมีอายุปานกลางไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป สังเกตจากขอบดอกเห็ดยังงุ้มอยู่ ใช้มือจับดอกเห็ดแล้วดึงเบาๆ โยกไปทางซ้ายและขวา ดอกเห็ดจะหลุดออกมา ต้องดึงดอกเห็ดให้หลุดออกจากถุงทั้งกลุ่ม ไม่ให้เหลือโคนติดที่ถุง เพราะจะทำให้หน้าถุงเน่าทำให้มีเชื้อราอื่นหรือมีแมลงหวี่เข้าทำลาย การเก็บผลผลิตควรเก็บไปเรื่อยๆ จนกว่าก้อนเชื้อจะหมดอายุ ประมาณ 3-4 เดือน
16 ต.ค. 2563
24 มี.ค. 2564
12 ต.ค. 2563